วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

                                                                      ผักคาวตอง




ผักคาวตอง     (    Houttuynia cordata Thunb )


ข้อมูลทั่วไป  
1. ลักษณะ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 15-30 ซม. ลำต้นกลม สีเขียว รากแตกออกตามข้อ มีกลิ่นคาวทั้งต้น ใบ เป็นพืชใบเดี่ยว 
2. ประโยชน์ : สามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้


ข้อมูลเชิงลึก
ชื่อวิทยาศาสตร์    Houttuynia cordata Thunb  แพร่กระจายพันธุ์แถบ อินโดจีน, จีน, ประเทศไทยพบตามที่ชื้นแฉะริมน้ำทางภาคเหนือหรือปลูกไว้เป็นยาหรืออาหาร  เป็นพืชพืชล้มลุก มีกลิ่นคาว ลำต้นใต้ดินเป็นปล้องสั้นๆ สีนวล ตามข้อมีรากออกโดยรอบ ลำต้นที่อยู่เหนือดินสูง 10-30 เซนติเมตร ใบเดี่ยว ออกเวียนหรือออกสลับ แผ่นใบรูปไข่กว้าง 2.5-7.5 เซนติเมตร ยาว 3-เซนติเมตร ปลายใบแหลมมาก โคนใบรูปหัวใจ หรือรูปไต ขอบใบเรียบ เส้นใบออกที่โคนใบ 5-7 เส้น มีขนสั้นๆตามโคนใบแผ่นใบบนสีเขียวเข้มกว่าใต้ใบ ช่อดอกออกตามยอด หรือซอกใบใกล้ยอด รูปทรงกระบอกกว้าง กว้าง 5-มิลลิเมตร ยาว 2-2.5 เซนติเมตร มีกลีบประดับสีขาว กลีบ รูปรี หรือรูปไข่กลับแกมขอบขนาน กว้าง 5-มิลลิเมตร ยาว 1-เซนติเมตร รองรับโคนช่อ ก้านช่อยาว 1-2 เซนติเมตร  ช่อดอกประกอบด้วยดอกเล็กๆจำนวนมาก เรียงตัวแน่นตามความยาวของแกนช่อ ดอกแต่ละดอกไม่มีก้านดอก ไม่มีกลีบดอก มีเฉพาะเกสรเพศผู้ อัน ยาวประมาณ มิลลิเมตร อับเรณูสีเหลือง ดอกออกมากในเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม


การปลูก
ขยายพันธ์ได้ง่ายโดยวิธีการปักชำ ในการเตรียมกิ่งชำชำควรปักชำในภาชนะหรือกระบะชำที่มีวัสดุปักชำไม่โปร่งมากนัก แต่มีความชุ่มชื้นเพียงพอเช่น ในดินผสมขุยมะพร้าว ในอัตราส่วน 4:1 โดยปริมาตร ประมาณ เดือน กิ่งชำจะออกรากและมีสภาพแข็งแรงพอสามารถย้ายไปปลูกได้ การปลูกเป็นแปลงใหญ่เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ยาว 8-10 เซนติเมตร มีข้อ2-3 ข้อ ตัดปลายกิ่งเฉียง 45 องศา


สภาพดินฟ้าอากาศ
ผักคาวตองเป็นพืชที่ต้องการร่มเงาและความชื้นสูง สามารถเจริญเติบโตได้ในดินต่างๆ ตั้งแต่ดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ จนถึงดินทรายที่มีปริมาณธาตุอาหารบางชนิดค่อนข้างต่ำ และเจริญเติบโตได้ในสภาพน้ำท่วมขัง นิยมปลูกใกล้แหล่งน้ำที่มีความชื้นสูง และเป็นบริเวณที่ได้รับแสงแดดไม่มากนักหรือได้รับแสงไม่ตลอดทั้งวัน


การใช้ประโยนชน์
ทั้งต้น รสฉุน เย็นจัด ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ ฝีบวมอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ บิด โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หูชั้นกลางอักเสบ และริดสีดวงทวาร ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้หายใจสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้
ต้นสด ใช้ภายนอก พอกฝี บวมอักเสบ บาดแผล โรคผิวหนัง ดากออก งูพิษกัด และช่วยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น
ใบสด ผิงไฟพอนิ่ม ใช้พอกเนื้องอกต่างๆ ใบสดใช้ป้องกันปลาเน่าเสีย ต้มน้ำรดต้นฝ้าย ข้าวสาลี และข้าว ป้องกันพืชเป็นโรคเหี่ยวเฉาตาย พืชนี้ใช้รับประทานเป็นยาระบาย ขับพยาธิ แก้ไข้ อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย 
ดอก ใช้ขับทารกที่ตายในท้อง


สารเคมีที่พบ

-ในญี่ปุ่น : มีน้ำมันระเหย 0.0049% ประกอบด้วยสารมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อคือ Decanoylacetaldehyde และยังมี methyl - n - nonylketone, myrcene, lauric alldehyde, capric aldehyde, capric acid
-ในจีน: มีน้ำมันระเหย ประกอบด้วย Decanoylacetaldehyde dodecanaldehlyde, 2-undecanone, caryophyllene α -pinene, camphene, myrcene, d-limonene, linalool และ bornyl acetate
-ในเนปาล : ใช้ลำต้นใต้ดิน ในตำรับยาที่เกี่ยวกับโรคของสตรี ใช้ทั้งต้นเป็นยาช่วยย่อย บรรเทาอาการอักเสบ และขับระดู ใบใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง แก้บิด และริดสีดวงทวาร
-ในอินเดีย : ใช้ทั้งใบหรือทั้งต้นเป็นผักต้มกิน
นอกจากนี้ยังมี โปแตสเซียมคลอไรด์ โปแตสเซียมซัลเฟต และ cordarine
-ดอกและใบ สารพวก flavone ประกอบด้วย Quercirin, Isoquercitrin, quercetin, reynoutrin และ hyperin
-ราก มีน้ำมันหอมระเหย ที่ประกอบด้วย decanoyl acetaldehyde.


เนื้อเยื่อ



ใบ





ลำต้น






ราก


การประยุกต์ใช้ด้านการแพทย์
  1. โรคทางเดินหายใจอักเสบ
  2. โรคหลอดลมขยายตัวมากเกินไป
  3. โรคไอกรน
  4. อาการคั่งน้ำในอกจากโรคคมะเร็ง
  5. ป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัด
  6. โรคท้องเสียจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  7. โรคตับอักเสบชนิดดีซ่าน
  8. อาการไตผิดปกติ
  9. รักษาแผลอักเสบคอมดลูก
  10. การอักเสบบริเวณกระดูกเชิงกราน
  11. การอักเสบชนิดธรรมดาบริเวณแก้วตา
  12. โรคหัด
  13. โรคต่อมทอนซิลอักเสบจากการระบาด





เสนอโดย
นางสาว  จิราวรรณ  อนันตยา ม.5.4  เลขที่ 37